ค้นหาคำศัพท์แบบเร่งด่วน


 

  • ความหมายของคำว่า ' -การ ๒ '

    -การ ๒  หมายถึง น. ผู้ทํา, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาสคําบาลีและสันสกฤต เช่นกรรมการ ตุลาการ, ถ้าอยู่หลังคําอื่นที่ไม่ใช่คําศัพท์ มีความหมายเป็นเฉพาะก็มี เช่น กงการ เจ้าการ นักการผู้บังคับการ ผู้กำกับการ.

advertisement

 

คำที่ใกล้เคียงกัน

  • -การ ๓

    คําประกอบท้ายสมาสคําบาลีและสันสกฤต มีความหมายเหมือนการ ๑ เช่น ราชการ พาณิชยการ.

  • การก

    [กา-รก] น. ผู้ทํา. (ไว) ก. กริยาที่ทําหน้าที่ประธาน กรรม หรือส่วนขยายของประโยคที่คล้ายกับนาม มี ๕ ชนิด คือ กรรตุการกกรรมการก การิตการก วิกัติการก และวิเศษณการก. (ป., ส.).

  • การณ์

    [กาน] น. เหตุ, เค้า, มูล, เช่น รู้เท่าไม่ถึงการณ์ สังเกตการณ์.(ป., ส.).

  • การ์ด

    (ปาก) น. บัตรเชิญในโอกาสต่าง ๆ เช่น การ์ดแต่งงาน การ์ดงานศพ.

  • การ์ตูน ๑

    น. ภาพล้อ, ภาพตลก, บางทีเขียนเป็นภาพบุคคล บางทีเขียนเป็นภาพแสดงเหตุการณ์ที่ผู้เขียนตั้งใจล้อเลียนจะให้ดูรู้สึกขบขัน,หนังสือเล่าเรื่องด้วยภาพเขียน ซึ่งแบ่งหน้ากระดาษเป็นช่อง ๆมีคำบรรยายสั้น ๆ อ่านง่าย เนื้อเรื่องมักเป็นนิทานหรือนวนิยาย.

  • การ์ตูน ๒

    น. ชื่อปลาทะเลขนาดเล็กทุกชนิดในสกุล Amphiprion วงศ์Pomacentridae ลําตัวสั้นและแบนข้าง สีเหลือง แสด หรือแดง บางชนิดมีส่วนบนรวมทั้งครีบหลังดําคล้ำ มักมีแถบสีขาวเด่นพาดขวางบนหัวและลําตัว ๑-๒ แนว แล้วแต่ชนิดหรือขนาด พบอาศัยตามแนวปะการัง โดยเฉพาะอยู่กับดอกไม้ทะเลในลักษณะพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน.

  • การเต

    [กาน-] น. กานดา เช่น ธรณีธรณิศแก้ว การเต. (ทวาทศมาส).

 


พจนานุกรมไทย-ไทย ออนไลน์

จุดประสงค์ของเว็บ เพื่อสนับสนุนการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องตามความหมายของแต่ละคำ ขอบคุณข้อมูลจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒